ประวัติอยุธยา

                กรุงศรีอยุธยามีชื่อเดิมที่ปรากฏในเอกสารชั้นต้นที่เป็นศิลาจารึกและตำนานบางเรื่องว่า  "กรุงอโยธยา" ซึ่งเป็นการนำชื่อเมืองของพระรามในเรื่องรามเกียรติ์มาใช้   ชื่อกรุงอโยธยาคงจะถูกเปลี่ยนเป็นกรุงศรีอยุธยาซึ่งเป็นชื่อที่รู้จักกันทั่วไปในปัจจุบันนี้ในสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชซึ่งอยู่ในระยะเวลาตอนปลายของสมัยกรุงศรีอยุธยา อันเป็นสมัยที่หนังสือพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับที่เก่าที่สุดเท่าที่มีอยู่ในขณะนี้ ได้รับการเขียนและคัดลอกกันต่อๆ มา เป็นต้นฉบับตัวเขียนที่เก็บอยู่ในหอสมุดแห่งชาติ หนังสือพงศาวดารฉบับนี้ก็ได้กล่าวถึงเมืองที่มีชื่อว่า กรุงศรีอยุธยา เอาไว้ด้วย คนรุ่นหลังจึงได้เรียกชื่อนี้กันต่อมาจนถึงปัจจุบัน

ความเป็นมาของกรุงศรีอยุธยานั้นปรากฏเป็นเรื่องที่เล่าสืบทอดกันในลักษณะของตำนานโดยเฉพาะตำนานเรื่องท้าวอู่ทองจะมีอยู่หลายตำนานและปรากฏในหลายท้องที่ ตำนานท้าวอู่ทองบางเรื่องกล่าวถึงความเกี่ยวข้องกับดินแดนแถบจังหวัดกำแพงเพชร บางเรื่องปรากฏเป็นตำนานของบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำภาคกลางในจังหวัดสุพรรณบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ เมืองนครศรีธรรมราชก็มีตำนานที่เล่าถึงท้าวอู่ทองกับพระยาศรีธรรมาโศกราชที่ตกลงรวมดินแดนนครศรีธรรมราชเข้ากับกรุงอโยธยาก่อนเวลาการสถาปนากรุงศรีอยุธยาในหนังสือพระราชพงศาวดาร ตำนานบางเรื่องในหนังสือพงศาวดารเหนือที่รวบรวมจดไว้เป็นลายลักษณ์อักษรในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ กล่าวถึงการเป็นเมืองที่มีความสืบเนื่องมาจากเมืองลพบุรี ซึ่งเป็นเมืองที่เก่าแก่ และมีเครือข่ายที่เห็นได้อย่างชัดเจนจากหลักฐานด้านโบราณคดีว่า มีความเกี่ยวข้องกับราชอาณาจักรขอมกัมพูชา

ถ้าไม่คำนึงถึงเรื่องมิติของเวลา ตำนานต่างๆ เกี่ยวกับท้าวอู่ทองและเรื่องในพงศาวดารเหนือสามารถสะท้อนภาพของส่วนต่างๆ ซึ่งประกอบเข้าเป็นกรุงศรีอยุธยาได้ อย่างไรก็ดี เอกสารทางประวัติศาสตร์ที่เป็นพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ที่กล่าวถึงเมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีที่๑ได้สถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นเมื่อพ.ศ.๑๘๙๓นั้นได้กล่าวถึงสมเด็จพระราเมศวรโอรสของสมเด็จพระรามาธิบดีว่าได้ไปครองเมืองลพบุรีอีกทั้งเอกสารที่เป็นจดหมายเหตุของจีนได้เรียกกรุงศรีอยุธยาเมื่อแรกสถาปนาว่า หลอหู ซึ่งเป็นคำเดียวกับที่จีนใช้เรียกเมืองลพบุรีมาก่อนด้วยจึงสันนิษฐานได้ว่าราชวงศ์ของสมเด็จพระรามาธิบดีผู้สถาปนากรุงศรีอยุธยานั้นมีความสืบเนื่องมาจากเมืองลพบุรีที่เป็นศูนย์อารยธรรมเก่าแก่แห่งที่ราบลุ่มแม่น้ำภาคกลางมาก่อน และเมื่อได้พิจารณาประกอบกับหลักฐานทางโบราณคดีที่มีการพบที่อยุธยา ได้แก่ เศียรพระพุทธรูปขนาดใหญ่ซึ่งเป็นศิลปะก่อนสมัยอยุธยา ที่วัดธรรมิกราช พระพนัญเชิงซึ่งสร้างก่อนเวลาการสถาปนากรุงศรีอยุธยา พระพุทธรูปทั้งสององค์มีรูปแบบศิลปะที่เรียกว่า ศิลปะอู่ทองรุ่นแรกที่ได้รับอิทธิพลของศิลปะลพบุรีด้วย ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ชี้อย่างชัดเจนว่า ได้มีการขยายตัวของเมืองลพบุรีลงมาทางใต้บริเวณเกาะเมืองอยุธยา ก่อนที่จะมีการสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นเมืองหลวง เมื่อพ.ศ. ๑๘๙๓

  การขยายตัวของเมืองลพบุรีลงมาที่อยุธยาเมื่อพิจารณาในด้านภูมิศาสตร์เศรษฐกิจก็อาจอธิบายได้ว่า เป็นการขยายที่ตั้งการค้าออกไปใกล้ทะเลเพื่อการค้ากับดินแดนโพ้นทะเล เพราะอยุธยามีลำน้ำเจ้าพระยาซึ่งเรือเดินทะเลใหญ่ในสมัยนั้นสามารถเข้ามาถึงตัวเมืองได้อีกทั้งที่ตั้งของอยุธยาเป็นที่รวมของแม่น้ำหลายสายคือแม่น้ำลพบุรีแม่น้ำป่าสักและแม่น้ำเจ้าพระยาที่ตั้งของอยุธยาจึงมีลักษณะเป็นชุมทางที่สามารถติดต่อเข้าไปยังแผ่นดินภายในได้หลายทิศทางให้ประโยชน์ในด้านการเป็นแหล่งรวมสินค้าที่ส่งมาจากที่ต่างๆ ได้สะดวก และสามารถเป็นตลาดกลางขนาดใหญ่ในการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากับทั้งภายในทวีปและดินแดนโพ้นทะเลได้เป็นอย่างดี การขยายตัวของเมืองลพบุรีมาที่อยุธยานั้นคงจะมีขึ้นตั้งแต่ประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๘

 ด้วยเหตุนี้ การเกิดขึ้นมามีฐานะเป็นศูนย์กลางอำนาจการปกครอง หรือเป็นเมืองหลวงของกรุงศรีอยุธยา จึงไม่เหมือนกับการเกิดขึ้นของเมืองเชียงใหม่และเมืองสุโขทัย เพราะทั้งสองเมืองมีลักษณะของการเป็นบ้านเมืองของผู้นำที่ค่อยๆ รวบรวมบ้านเล็กเมืองน้อยเข้าไว้ด้วยกัน และเติบโตสร้างความเป็นปึกแผ่นของแว่นแคว้นเพิ่มขึ้นๆ จนในที่สุด เมืองซึ่งเป็นที่ประทับของผู้นำของแว่นแคว้นก็ได้กลายเป็นศูนย์กลางของอำนาจการปกครองดินแดนที่รวบรวมเข้ามาได้ ส่วนกรุงศรีอยุธยานั้น เมื่อสถาปนาขึ้นอย่างเป็นทางการ ก็เป็นเมืองที่มีพื้นฐานอันเป็นเครือข่ายของเมืองลพบุรีซึ่งเป็นเมืองใหญ่แต่โบราณแล้ว คือ บ้านเมืองในดินแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง บริเวณที่ราบลุ่มน้ำมูลที่มีพื้นฐานทางวัฒนธรรมแบบเดียวกันติดต่อไปถึงเมืองพระนครหลวงในกัมพูชา ส่วนเรื่องพระเจ้าอู่ทองในตำนานของเมืองนครศรีธรรมราชได้แสดงให้เห็นว่า เป็นดินแดนที่ได้รับการผนวกเข้ากับอยุธยาก่อนเวลาการสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นเมืองหลวงอย่างเป็นทางการ ด้วยเหตุนี้ จึงไม่ปรากฏเรื่องราวการรวบรวมดินแดนนครศรีธรรมราชในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาซึ่งเริ่มเล่าเรื่องตั้งแต่เวลาของการสถาปนา แต่กลับปรากฏในบันทึกของชาวยุโรปในสมัยอยุธยาตอนต้นว่า ดินแดนตลอดแหลมมลายูนั้นเป็นของสยาม ซึ่งมีศูนย์กลางเป็นเมืองใหญ่อยู่ที่กรุงศรีอยุธยา

  ในพระราชพงศาวดารฉบับที่เขียนในสมัยกรุงศรีอยุธยามีการกล่าวถึงกษัตริย์องค์ต่อมาหลังจากสมเด็จพระรามาธิบดีที่๑ผู้สถาปนากรุงศรีอยุธยาเสด็จสวรรคตว่ามาจากเมืองสุพรรณบุรีด้วยท่าทีที่มีอำนาจแล้วขึ้นเสวยราชสมบัติต่อมาทรงพระนามว่าสมเด็จพระบรมราชาธิราช(ที่๑)ได้มีการขยายความในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับที่เขียนในภายหลังว่า กษัตริย์จากสุพรรณบุรีนี้คือ พ่องั่ว ผู้เป็นพี่มเหสีของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ แม้ว่าจะเป็นเอกสารที่เขียนขึ้นในภายหลังก็ตาม แต่เรื่องราวต่อๆมาในพระราชพงศาวดารก็สามารถให้ภาพรวมว่า ในช่วงระยะเวลาแรกแห่งการสถาปนากรุงศรีอยุธยาระหว่าง พ.ศ. ๑๘๙๓ - ๑๙๕๒ นั้น กรุงศรีอยุธยามีกษัตริย์ที่ผลัดกันครองราชบัลลังก์อยู่๒สายสายหนึ่งคือสายที่สืบราชตระกูลมาจากสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ผู้สถาปนาเมือง และอีกสายหนึ่งคือราชตระกูลที่มาจากเมืองสุพรรณบุรี การผลัดกันขึ้นสู่ราชบัลลังก์ของทั้ง ๒ ราชตระกูลนั้นเป็นการยึดอำนาจมาจากอีกฝ่ายหนึ่ง

   ชื่อของเมืองสุพรรณบุรีมีที่มาจากหนังสือพระราชพงศาวดารเช่นเดียวกับชื่อของกรุงศรีอยุธยาเพราะจากเอกสารชั้นต้นที่เป็นศิลาจารึกหรือเรื่องในตำนานบางเรื่องนั้นชื่อเดิมของเมืองสุพรรณบุรีในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นนั้นคือเมืองสุพรรณภูมิศิลาจารึกหลักที่๑ของพ่อขุนรามคำแหงที่เล่าเรื่องราวในสมัยพ่อขุนรามคำแหงก่อนเวลาการสถาปนากรุงศรีอยุธยาได้กล่าวถึงชื่อเมืองสุพรรณภูมิรวมอยู่ในกลุ่มเมืองที่อยู่ทางฝั่งตะวันตกของที่ราบลุ่มแม่น้ำภาคกลางคือเมืองแพรก(ในจังหวัดชัยนาท)เมืองสุพรรณภูมิเมืองราชบุรีเมืองเพชรบุรีซึ่งในท้องที่ของเมืองเหล่านี้ล้วนมีโบราณสถานที่มีอายุไม่น้อยกว่าเมืองลพบุรีอยู่ด้วยดังนั้นการที่พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาได้ระบุชื่อเมืองสุพรรณภูมิอยู่รวมกับดินแดนของกรุงศรีอยุธยาในลักษณะของเมืองที่มีอำนาจ ที่เจ้าเมืองสามารถเข้ามาสืบราชบัลลังก์กรุงศรีอยุธยาได้ด้วยนั้น แสดงว่านอกจากการเกิดขึ้นของกรุงศรีอยุธยาจะเป็นการสืบอำนาจต่อจากเมืองลพบุรีโดยการสืบราชวงศ์ของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ แล้ว ยังประกอบด้วยดินแดนของสุพรรณภูมิที่มีกษัตริย์ต่างราชวงศ์ปกครองสืบทอดกันมาอยู่ด้วยอีกส่วนหนึ่ง

   ดินแดนของกรุงศรีอยุธยาจึงมีอาณาเขตที่กว้างขวางครอบคลุมพื้นที่อันอุดมสมบูรณ์ของที่ราบลุ่มแม่น้ำภาคกลางทั้งหมด เป็นราชอาณาจักรที่มีอิทธิพลครอบงำตลอดทั้งแหลมมลายูและพื้นที่ส่วนใหญ่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือการวมตัวกันได้ระหว่างดินแดนที่สืบมาจากเมืองลพบุรีเดิมกับดินแดนของสุพรรณภูมินั้นสาเหตุสำคัญน่าจะมาจากการเป็นเครือญาติที่สืบเนื่องมาจากการสมรสกันของราชวงศ์ทั้งสองพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาบางฉบับที่เขียนขึ้นภายหลัง ที่กล่าวว่าสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ แห่งสุพรรณภูมิ หรือขุนหลวงพ่องั่ว เป็นพี่มเหสีของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ นั้น อาจเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้เกิดการรวมตัวกันของดินแดนทั้งสองได้ กลายเป็นราชอาณาจักรที่มีความเป็นปึกแผ่นมั่นคงที่ชาวต่างประเทศเรียกว่า ราชอาณาจักรสยาม โดยมีกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีหรือเมืองหลวง

 ในช่วงกว่าครึ่งศตวรรษแรกของการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรนั้น ดังได้กล่าวแล้วว่า การรวมตัวกันระหว่างสองราชวงศ์ คือราชวงศ์ของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ กับราชวงศ์ของสุพรรณภูมิ ยังไม่ราบรื่นนักดังจะเห็นได้จากการแย่งชิงราชสมบัติกันระหว่างทายาทของทั้งสองราชวงศ์ เมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ สวรรคต ราชสมบัติตกอยู่กับสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ แห่งสุพรรณภูมิ โดยการยินยอมของสมเด็จพระราเมศวรโอรสของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ซึ่งกลับไปครองเมืองลพบุรี แต่เมื่อสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ เสด็จสวรรคต สมเด็จพระราเมศวรได้เสด็จจากลพบุรีเข้าช่วงชิงราชบัลลังก์จากโอรสของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ ภายหลังจากที่สมเด็จพระราเมศวรได้เสด็จสวรรคตแล้ว โอรสของพระองค์คือสมเด็จพระรามราชาธิราช ก็ได้สืบราชสมบัติต่อไปสมเด็จพระราเมศวรและสมเด็จพระรามราชาธิราช เสวยราชสมบัติกรุงศรีอยุธยาสืบทอดต่อเนื่องกันเป็นเวลาประมาณ ๒๑ - ๒๒ ปี คือระหว่าง พ.ศ. ๑๙๓๑ - ๑๙๕๒

                  กรุงศรีอยุธยาตั้งอยู่ในที่ราบลุ่มภาคกลางของประเทศไทย ณ บริเวณที่แม่น้ำสำคัญ ๓ สาย ไหล มาบรรจบกัน คือ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำลพบุรีและแม่น้ำป่าสัก ทำให้มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะ -สม ต่อการเกษตรกรรม อันเป็นพื้นฐานของการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ เป็นชุมทางคมนาคมที่เอื้อ อำนวย ต่อการค้าทั้งภายใน และภายนอก จนทำให้เมืองอยุธยาเติบโต เป็นศูนย์กลาง ทางเศรษฐกิจ และการค้าที่มีความสำคัญของภูมิภาค เอเซียและของโลกในระหว่างพุทธ ศตวรรษที่ ๒๐-๒๓ พื้นที่ประเทศไทย ก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา แบ่งออก เป็นเมือง ใหญ่น้อย ซึ่งต่างมีอิสระในการปกครองไม่ขึ้นต่อกัน เช่นทางภาคเหนือ มีอาณาจักร ล้านนา และอาณาจักรสุโขทัย ทางใต้มี เมืองนครศรีธรรมราช ทางตะวันตกมีเมืองสุพรรณบุรี ส่วนทางตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ก็ยังมีอิทธิพล ของอาณาจักรขอมแพร่หลาย อยู่ก่อน โดยมี ศูนย์กลางอยู่ที่เมืองลพบุรี เชื่อกันว่าบริเวณเมืองอยุธยา เคยเป็นที่ตั้งของ เมืองอโยธยา ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านของลพบุรี มาก่อน โดยมีหลักฐานพระราชพงศาวดาร กล่าวถึง การสร้างพระเจ้าพนัญเชิง เมื่อปี พ.ศ.๑๘๖๗ เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น องค์ใหญ่ อันแสดงให้เห็นว่าขณะนั้น ชุมชนอโยธยามีขนาดใหญ่ มีฐานะ ทาง เศรษฐกิจมั่งคั่ง จึงมีทั้งกำลังคน และ กำลังทรัพย์ในการสร้าง พระพุทธรูป ขนาดใหญ่ขึ้นได้ เมื่ออิทธิพลของอาณาจักรขอมเริ่มเสื่อมลง นับตั้งแต่พุทธศควรรษที่ ๑๙ เป็นต้นมา ทำให้เมือง ที่เคยตกอยู่ภายใต้ การปกครองต่างตั้งตัวเป็นอิสระ ในบริเวณที่ลาบลุ่มภาคกลางนั้นสมเด็จพระรามาธิปดีที่ ๑ หรือพระเจ้าอู่ทอง ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้น เป็นศูนย์กลางทางการเมือง การปกครอง เมื่อปี พ.ศ.๑๘๙๓ โดยรวบรวมเอากลุ่มเมืองที่มีความสัมพันธ์กัน ทางด้าน เครือญาติ เข้าด้วยกัน เมืองเหล่านี้อาทิเช่น เมืองลพบุรี เมืองสุพรรณบุรี และเมืองสวรรค์บุรี เป็นต้น ต่อจากนั้นกรุงศรีอยุธยาก็ได้พัฒนาเจริญรุ่งเรืองขึ้นมา โดยลำดับด้วยพระปรีชาสามารถ ของกษัตริย์องค์ต่อๆมา ได้ขยายดินแดนออกไปอย่างกว้างขวาง และดำรงฐานะศูนย์กลาง ของ สยามประเทศสืบต่อเนื่องมาถึง ๔๑๗ ปี มีพระมหากษัตริย์ปกครองแผ่นดิน สืบเนื่องต่อกันมา ๓๓ พระองค์จาก ๕ ราชวงศ์ พระเจ้าเอกทัศน์(พ.ศ.๒๓๐๑-๒๓๑๐) เป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายก่อนที่....... กรุงศรีอยุธยาถูกทำลายลงเมื่อ วันพุธที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๓๑๐ วันที่กองโจรพม่าภายใต้การนำของเนเมียวสีหบดีบุกเข้าพระนคร ได้เผาผลาญ ทำลายมหาปราสาทราชวัง วัดวาอาราม บ้านเรือน ปล้นสะดมทั้งทองคำและเพชรนิลจินดาจากพระบรมมหาราชวัง และกวาดต้อนชาวพระนคร ไปเป็นเชลยกว่า ๒๐๐,๐๐๐ คน

 

กษัตริย์อยุธยา

                 พระนเรศวร

                  พระนเรศวรเป็นกษัตริย์องค์ที่ 19 (ในจำนวน 34 พระองค์)แห่งอาณาจักรอยุธยา พระองค์ทรงเป็นพระโอรสของพระมหาธรรมราชา (อดีตเจ้าเมืองพิษณุโลก ซึ่งเป็นกษัตริย์องค์ที่ 18 ของอยุธยา)ซึ่งเป็นเชื้อสายของราชวงศ์สุโขทัย พระนเรศวรทรงเป็นที่รู้จักในประวัติศาสตร์ไทยสกุลลัทธิชาตินิยมในฐานะ “วีรกษัตริย์” ผู้กอบกู้ “เอกราช” ให้กับอยุธยาซึ่งตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าอยู่ 15 ปี ระหว่าง 2112-2127 พระนเรศวรมีพระพี่นาง 1 องค์ และพระอนุชา 1 องค์ พระนเรศวรเป็นที่รู้จักในนามของ “องค์ดำ” ผู้มีความปรีชาสามารถในการสงคราม สามารถสถาปนาอาณาจักรอยุธยาให้มีอำนาจและความยิ่งใหญ่ ส่วนพระอนุชา (ซึ่งต่อมาจะเป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่า พระเอกาทศรถ) นั้นรู้จักกันในพระนามว่า “องค์ขาว” พระนเรศวรทรงได้รับยกย่องให้เป็น 1 ในบรรดากษัตริย์ไทยที่ทรงเป็น “มหาราช”ในช่วงระยะเวลา 19 ปีก่อนขึ้นครองราชนั้น พระนเรศวรทรงมีส่วนในการสงครามป้องกันอยุธยาเป็นอย่างมาก ทั้งการสงครามกับพม่าและกัมพูชา และในที่สุดก็ได้ประกาศ “อิสระภาพ” ในปี 2127 เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าในปี 2112 นั้น อาณาจักรไทยนอกจากจะแตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าแล้ว(ทั้งอยุธยาและเชียงใหม่)ภาคกลางของไทยได้รับความเสียหายมาก ประชากรส่วนใหญ่ถูกกวาดต้อนไปพม่า เมืองหลายเมืองต้องถูกทิ้งร้าง เพราะขาดประชากร ที่อยุธยาเองพม่าตั้งกองทัพของตนไว้ 3,000คน ทั้งนี้เพื่อควบคุมพระมหาธรรมราชาไม่ให้เอาใจออกห่าง ดังนั้นอยุธยาจึงอยู่ในสภาพที่อ่อนแอ และขาดกำลังทหารป้องกันเมืองเป็นอย่างมากความอ่อนแอของอยุธยาเปิดโอกาสให้กัมพูชาส่งกองทัพมารุกรานหัวเมืองชายทะเล ตั้งแต่แถบเมืองจันทบุรีถึงเพชรบุรี ระหว่างปี 2113-2130 กัมพูชาส่งกองทัพมาตีหัวเมืองชายทะเลดังกล่าวถึง 6 ครั้ง และกวาดต้อนประชากรไปเป็นจำนวนมาก สงครามไทย-กัมพูชานี้เป็นสงครามที่ประทุในแถบชายแดนจันทบุรี และเป็นสงครามที่มีการปล้นสะดมประชากรกัน สงครามในลักษณะดังกล่าวมีมาตั้งแต่สมัยต้นอยุธยา พระนเรศวรมีส่วนอย่างมากในการป้องกันอยุธยาในครั้งนี้ การสงครามกับกัมพูชาในครั้งนั้นทำให้อยุธยาสามารถใช้เป็นข้ออ้างในการที่จะสะสมกำลังคนโดยการโยกย้ายประชากรจากหัวเมืองเข้ามายังอยุธยา ทั้งยังสามารสร้าง และซ่อมแซมกำแพงเมืองตลอดจนป้อมปราการ และจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์เพิ่มเติมได้โดยปราศจากความสงสัยจากพม่า นอกเหนือจากภัยสงครามจากภายนอกแล้ว ในสมัยดังกล่าวอยุธยาก็ยังเผชิญกับปัญหาภายใน คือ “ขบถไพร่ญาณพิเชียร” ในปี 2124ด้วยในปี 2124 พระเจ้านันทบุเรงกษัตริย์พม่าสวรรคต และพม่าภายใต้ราชวงศ์ตองอูก็ทำท่าว่าจะแตกสลาย พระนเรศวรได้เสด็จไปยังเมืองพระโคเพื่อไปในงานพระศพของกษัตริย์พม่า และน่าจะทรงทราบดีถึงโอกาสที่อยุธยาจะได้เป็นเอกราช ในขณะเดียวกันพม่าก็ทราบดีเช่นกันว่า พระนเรศวรจะเอาใจออกห่าง ดังนั้นจึงได้ใช้มอญให้วางแผนกำจัดพระนเรศวร แต่พระยาเกียรติพระยาราม ขุนนางมอญกับนำความลับนี้มากราบทูลต่อพระนเรศวร ดังนั้น ปี 2127พระนเรศวรจึงประกาศอิสรภาพของอยุธยาตลอดปลายรัชสมัยของบิดาของพระองค์พระนเรศวรต้องทำสงครามต่อต้านการรุกรานของพม่า ระหว่าง 2128-2130 พระองค์ทรงขึ้นครองราชสมบัติเมื่อปี 2133 เมื่อพระบิดาสวรรคต และมีพระชนมายุ 35 พรรษา ตามประวัติศาสตร์ไทยกล่าวว่า “สงครามยุทธหัตถี”หรือการรบโดยการชนช้างในปี21352136เป็นสงครามที่พระนเรศวรทรงมีชัยชนะอย่างเด็ดขาดเหนือพม่าพระมหาอุปราชแม่ทัพพม่าสิ้นพระชนม์ด้วยพระแสงของ้าวของพระนเรศวรที่ตำบลหนองสาหร่ายจังหวัดสุพรรณบุรีสงครามครั้งนี้นับได้ว่าเป็นสงครามใหญ่ครั้งสุดท้ายของพุทธศตวรรษที่22หลังจากนั้นไทยกับพม่าก็ค่อนข้างจะว่างสงครามกัน100กว่าปีจนเมื่อพม่าได้สถาปนาราชวงศ์อลองพญา(คองบอง)ตลอดรัชสมัย15ปีของพระนเรศวรพระองค์ทรงพยายามสถาปนาความเป็นปึกแผ่นของอยุธยา ทรงขยายอาณาเขตออกไปกว้างขวาง ทรงทำให้กัมพูชาต้องยอมเป็นเมืองขึ้น ตลอดรัชสมัย 15 ปีของพระนเรศวร พระองค์ทรงพยายามสถาปนาความเป็นปึกแผ่นของอยุธยา ทรงขยายอาณาเขตออกไปกว้างขวาง ทรงทำให้กัมพูชาต้องยอมเป็นเมืองขึ้น พระนเรศวรสวรรคตที่เมืองหาง รัฐฉานในพม่า เมื่อ 2148 พระชนม์พรรษาได้ 50 ปี และดูเหมือนว่าพระองค์จะไม่มีพระราชโอรสหรือพระธิดา บ้างก็กล่าวว่าพระองค์ไม่มีฝ่ายในด้วยซ้ำไปดังนั้นพระอนุชาคือพระเอกาทศรถจึงได้ครองราชสมบัติแทนพระเอกาทศรถพระเอกาทศรถ เป็นกษัตริย์องค์ที่ 20 ของอยุธยา พระองค์เป็นพระอนุชาของพระนเรศวร ทรงประสูติเมื่อ 2103 มีพระชนมายุอ่อนกว่าพระนเรศวร 5 พรรษา ในสมัยที่พระราชบิดาทรงครองราชย์ พระเอกาทศรถได้สถาปนาเป็น “วังหลัง” เมื่อพระนเรศวรขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน พระเอกาทศรถก็ได้รับยกย่องในฐานะเท่าเทียมกับพระนเรศวร พงศาวดารไทยจะกล่าวถึงพระองค์ในฐานะของ “พระเจ้าอยู่หัว” อีกพระองค์หนึ่ง ทั้งนี้อาจจะเป็นได้ว่าพระเอกาทศรถทรงร่วมรบในสงครามกับพระนเรศวรมาตลอด และอาจเป็นเพราะพระนเรศวรไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีพระมเหสีหรือพระโอรส พระเอกาทศรถจึงอยู่ในฐานะของอุปราชหรือผู้ที่จะได้สืบราชสมบัติอย่างชัดเจน หลักฐานจากชาวฮอลันดากล่าวถึงพระองค์ในฐานะ “พระอนุชาธิราชพระราเมศวร” ซึ่งตำแหน่ง พระราเมศวร เป็นตำแหน่งของพระโอรสองค์โตในสมัยต้นอยุธยา พระเอกาทศรถขึ้นครองราชสมบัติเมื่อ ปี 2148 พระชนมายุได้ 45 พรรษาพระเอกาทศรถขึ้นครองอยุธยาในสมัยที่อาณาจักรเป็นปึกแผ่นมั่นคง พระนเรศวรได้ขยายอำนาจของอยุธยาออกไปอย่างกว้างขวางอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนในสมัยอยุธยาก่อนหน้านี้ อยุธยามีอำนาจเหนือเชียงใหม่ และรุกเข้าไปในดินแดนรัฐฉาน ทางด้านพม่าตอนใต้ก็ได้แถบทวาย มะริด ตะนาวศรี และทางด้านกัมพูชาก็ทำให้เขมรต้องยอมรับอำนาจของไทย แต่อย่าางไรก็ตามบรรดาอาณาเขตเหล่านี้จำนวนมากก็เป็นอิสระเมื่อสิ้นพระนเรศวร กระนั้นก็ตามอำนาจของอยุธยาในพม่าตอนล่างก็ยังคงอยู่ ทำให้เปิดประตูการค้าไปในอ่าวเบงกอลที่ประจวบเหมาะกับการที่ชาติตะวันตกแพร่อิทธิพลของตนเข้ามาทำการค้าขาย จึงเป็นรัชสมัยการปูพื้นฐานของการที่อยุธยาจะมีสัมพันธ์ด้าาานการค้าและการเมืองกับประเทศตะวันตก ซึ่งจะเห็นได้ชัดในกลางพุทธศตวรรษที่ 22ต้น23 พระเอกาทศรถเป็นกษัตริย์อยุธยาองค์แรกที่ส่งทูตไปถึงกรุงเฮก ประเทศฮอลันดาเมื่อ 2151 และฮอลันดาก็ตั้งสถานีการค้าของตนในอยุธยา ฮอลันดามีจุดมุ่งหมายที่จะใช้อยุธยาเป็นเมืองท่าแลกเปลี่ยนสินค้า และเป็นฐานในการที่จะค้าขายต่อกับจีนและญี่ปุ่น ฮอลันดานำเอาผ้าฝ้าย อาวุธ มาแลกกับสินค้าพื้นเมืองคือหนังกวาง และพริกไทย เอกสารของชาวต่างประเทศกล่าวว่า ทั้งพระนเรศวรและพระเอกาทศรถทรงโปรด “ชาวต่างชาติ” ดังนั้นอยุธยาจึงต้อนรับชาวต่างชาติอื่น ๆอีก เช่น โปรตุเกส ญี่ปุ่น สมัยนี้เป็นสมัยที่เรือญี่ปุ่นได้รับ “ใบเบิกร่องตราแดง” สินค้าที่ญี่ปุ่นมาซื้อคือฝาง หนังกวาง หนังปลาฉลาม ตะกั่ว ดีบุก สมัย พระเอกาทศรถเป็นสมัยการสร้างอำนาจทางเศรษฐกิจ พระเอกาทศรถไม่โปรดการสงคราม ไม้ได้ทำการขยายอำนาจทางทหารอย่างสมัยพระนเรศวร จึงเป็นสมัยการค้าขายติดต่อกับต่างประเทศ และเป็นสมัยที่มีมาตราการทางด้านภาษีอากรอย่างมาก พงศาวดารไทยกล่าวว่า “ทรงพระกรุณาตั้งพระราชกำหนดกฎหมายพระอัยการ และส่วนสัดพัฒนากรขนอนตลาด” ซึ่งหมายถึงการเก็บภาษีจากผลิตผล ตลอดจนภาษีผ่านด่าน และภาษีตลาด ซึ่งตรงกับหลักฐานของฮอลันดาที่ว่าพระองค์ให้สำรวจจำนวนประชากร ให้มีการขึ้นสังกัดต่อนาย ให้มีการสำรวจสวนเพื่อเก็บภาษีต้นไม้(ที่ออกผล)เช่น มะพร้าว หมาก ส้ม มะนาว มะขาม ทุเรียน มะม่วง โดยเก็บต้นละ 1 เฟื้อง (เท่ากับ 12 สตางค์ ครึ่ง หรือ = 8อัฐ) เป็นต้น และที่น่าสนใจก็คือมีการเสียภาษีมรดกเมื่อขุนนางสิ้นชีวิตลง 1ใน3ของทรัพย์สมบัติต้องตกเป็นของหลวง พระเอกาทศรถครองราชย์เพียง 5 ปี เมื่อสวรรคตก็มีปัญหาการสืบราชสมบัติแย่งชิงกันในหมู่พระโอรสของพระองค์เอง อันเป็นปัญหาทางการเมืองภายในของอยุธยาที่มีมาตลอดเกือบจะทุกสมัย การสืบราชสมบัติหรือการส่งต่ออำนาจทางการเมือง ไม่สามารถจะสร้างกฎเกณฑ์ขึ้นมาเป็นมาตรฐานที่ยอมรับกันได้พระศรีเสาวภาคย์ เป็นกษัตริย์องค์ที่ 21 เป็นพระโอรสของพระเอกาทศรถ (กษัตริย์องค์ที่ 20) ได้ขึ้นมาเป็นพระเจ้าแผ่นดินก่อนในช่วงเวลาสั้น ๆเพียง 1ปีกับ 2เดือน เข้าใจว่าเป็นระยะเวลาที่พระเจ้าเอกาทศรถจะสิ้นพระชนม์ พระศรีเสาวภาคย์ เป็นเจ้าฟ้าที่มีพระเนตรข้างเดียว และก็มีสิทธิที่จะได้ครองบัลลังก์ต่อเมื่อเจ้าฟ้าสุทัศน์พระราชบุตรผู้พี่ได้สวรรค

             พระเจ้าทรงธรรม

                  พระเจ้าทรงธรรม เป็นพระเจ้าแผ่นดินองค์ที่ 22 แห่งอาณาจักรอยุธยา ทรงเป็นโอรสของพระเอกาทศรถแห่งราชวงศ์สุโขทัยที่ได้เข้ามาครองอำนาจในอยุธยาภายหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าเป็นครั้งแรก เมื่อ 2112พระเจ้าทรงธรรมคงเป็นโอรสที่เกิดจากพระสนม มิใช่จากพระมเหสีซึ่งทำให้ข้ออ้างในการขึ้นครองราชย์ไม่แข็งแรงนัก แต่การสืบสันตติวงศ์ในสมัยอยุธยาก็หาได้มีกฎเกณฑ์แน่นอนไม่ ในบางครั้งขึ้นอยู่กับความสามารถที่จะควบคุมกำลังคน ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มขุนนางข้าราชการหรือไพร่พล และใช้กำลังในการยึดอำนาจในลักษณะที่เรียกว่า ปราบดาภิเษก การที่พระเจ้าทรงธรรมขึ้นมาครองราชย์ได้ ก็เพราะเจ้าฟ้าสุทัศน์พระโอรสอันเกิดจากพระมเหสีและได้รับสถาปานาเป็นพระมหาอุปราช ซึ่งมีสิทธิจะได้ครองราชสมบัติต่อนั้น ถูกข้อหาขบถต่อพระราชบิดา (เอกาทศรถ) จึงต้องเสวยยาพิษและสิ้นพระชนม์ไปก่อนตามหลักฐานของพงศาวดารไทย กล่าวว่าก่อนที่พระเจ้าทรงธรรมจะขึ้นครองราชย์นั้น โอรสอีกองค์หนึ่งของพระเอกาทศรถได้ขึ้นมาเป็นพระเจ้าแผ่นดินก่อนในช่วงเวลาสั้น ๆเพียง 1ปีกับ 2เดือน เข้าใจว่าในระยะเวลาที่พระเจ้าเอกาทศรถจะสิ้นพระชนม์นั้น พระราชโอรสองค์ที่ว่านี้เกิดจากพระมเหสีทรงพระนามว่า พระศรีเสาวภาคย์ เป็นเจ้าฟ้าที่มีพระเนตรข้างเดียว และก็มีสิทธิที่จะได้ครองบัลลังก์ต่อเมื่อเจ้าฟ้าสุทัศน์พระราชบุตรผู้พี่ได้สวรรคตไปแต่หลักฐานของชาวยุโรปที่อยู่ในอยุธยาขณะนั้น ยืนยันว่าพระเจ้าทรงธรรมได้ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระเอกาทศรถ ดังนั้นอาจเป็นไปได้ที่ว่า ในขณะที่พระเอกาทศรถจะเสด็จสวรรคต พระเจ้าทรงธรรมทรงผนวชอยู่ที่ วัดระฆัง ได้สมณฐานันดรเป็น “พระพิมลธรรมอนันตปรีชา” ทรงเชี่ยวชาญทางด้านพระพุทธศาสนา มีลูกศิษย์และขุนนางข้าราชการนิยมชมชอบไม่น้อย ทำให้สามารถซ่องสุมผู้คนเป็นกำลังเข้ายึดอำนาจได้พระเจ้าทรงธรรมครองราชย์อยู่ 18 ปี และถือเป็นรัชกาลที่ประสบความสำเร็จ พระองค์เป็นกษัตริย์ที่ได้รับการยกย่องสรรเสริญมากพระองค์หนึ่ง ลักษณะเด่นของรัชสมัยของพระองค์คือ ด้านพระพุทธศาสนา และวรรณกรรม การต่างประเทศ และความสงบภายในด้านพุทธศาสนามีการค้นพบรอยพระพุทธบาท ที่สระบุรี เมื่อปี2166ตามประวัติกล่าวว่านายพรานชื่อบุญเป็นผู้ค้นพบโดยบังเอิญบนภูเขาเล็กๆในเขตนั้นพระองค์ได้ทรงให้สร้างมณฑปครอบพระพุทธบาทและทรงเริ่มประเพณีการเสด็จไปบูชาพระพุทธบาทตั้งแต่รัชสมัยของพระองค์ประเพณีนี้ถือได้ว่าเป็นประเพณีของการจารึกแสวงบุญที่สำคัญที่สุดของกษัตริย์ของอยุธยาตราบจนกระทั่งเสียกรุงแก่พม่าในปี2310และได้กลายเป็นประเพณีของชาวบ้านในแถบภาคกลางจนถึงทุกวันนี้อาจกล่าวได้ว่าการไปไหว้พระพุทธบาทเป็นประจำทุกปีทำให้สถานที่นี้ถือได้ว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทางพระพุทธศาสนามากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทยประเพณีนี้จะทำในเวลาหลังฤดูเกี่ยวข้าวแล้วคือประมาณเดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคมอาจกล่าวได้ว่าการค้นพบรอยพระพุทธบาทที่สระบุรีนั้นเป็นการสืบทอดจารีตความเชื่อทางด้านพุทธศาสนาที่ไทยได้รับจากสกุลลังกาวงศ์นับตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นต้นมาทั้งนี้เพราะในศรีลังกามีประเพณีการขึ้นไปไหว้รอยพระพุทธบาทที่เขาสมณกูฏอันเป็นความเชื่อที่สร้างความสัมพันธ์ต่อเนื่องระหว่างพระพุทธองค์ในอินเดียกับประเทศที่นับถือพุทธศาสนา รอยพระพุทธบาทและชื่อเขาสมณกูฏเองก็ปรากฏในสมัยสุโขทัยยังมีการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดและพระพุทธรูปสำคัญอีกด้วย เช่นพระมงคลบพิตร การจัดให้มีการแต่ง “มหาชาติคำหลวง” อันเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติของพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้ายก่อนการตรัสรู้ มหาชาติ หรือ พระเวสสันดร นี้ถือเป็นวรรณกรรมทางศาสนาที่สำคัญที่สุดเรื่องหนึ่งของไทย ยังมีการสร้างพระไตรปิฎกถือได้ว่าเป็นความสำเร็จของรัชสมัยในการที่พระมหากษัตริย์เป็น “องค์ศาสนูปถัมภก” อันเป็นหนึ่งในคุณสมบัติที่พระมหากษัตริย์ไทยจะทรงพึงมีในฐานะ “สิทธิธรรมทางการเมืองการปกครอง”ด้านการต่างประเทศ พระเจ้าทรงธรรมได้ทรงดำเนินนโยบายสืบต่อมาจากพระเอกาทศรถ อันจะทำให้อยุธยามีบทบาทในการค้า และการติดต่อกับต่างประเทศ เป็นอย่างมากจนถึงสมัยพระนารายณ์ชาวต่างประเทศที่นับว่ามีบทบาทอย่างมากในสมัยนี้คือ อังกฤษ ฮอลันดา ญี่ปุ่น ซึ่งติดต่อค้าขายกัน แต่ในบางครั้งมาตั้งสถานีการค้า หรือ บ้าน ในอยุธยาโดยมุ่งจะใช้สยามเป็นเมืองท่าติดต่อไปยังจีนและญี่ปุ่นอีกทอดภายหลังการก่อตั้ง English East India Company เมื่อปี 2143 อังกฤษได้ขยายเข้าไปในชวาซึ่งต้องแข่งขันกับฮอลันดา แล้วฮอลันดาชนะ ทำให้อังกฤษต้องไปสร้างอิทธิพลในอินเดียแทน อังกฤษได้เข้ามาในอยุธยาเพื่อหวังจะได้ตลาดผ้าฝ้ายที่นำมาจากอินเดีย เพื่อแลกกับของป่าสำหรับประเทศตะวันตกนั้น ฮอลันดามีบทบาทในอยุธยามากที่สุดรัชสมัยของพระเจ้าทรงธรรมไม่ประสบความสำเร็จด้านการทหารและการแผ่ขยายอำนาจ แต่ก็เป็นรัชสมัยที่มีความเจริญรุ่งเรืองทางด้านศาสนาและการต่างประเทศ พระเจ้าทรงธรรมทรงประชวรและสวรรคตในปี 2171 เมื่อพระชนมายุได้ 38 พรรษา และปัญหาการสืบราชสมบัติต่อจากพระองค์ก็มีคล้าย ๆกับตอนที่ พระองค์ขึ้นครองราชย์เช่นกัน

 

            พระเชษฐาธิราช   

                พระเชษฐาธิราช เป็นกษัตริย์องค์ที่ 23 ทรงเป็นพระโอรสของพระเจ้าทรงธรรม (กษัตริย์องค์ที่ 22)

                    พระอาทิตยวงศ์

                         เป็นกษัตริย์องค์ที่24แห่งราชวงศ์สุโขทัยเป็นอนุชาของพระเชษฐาธิราช(กษัตริย์องค์ที่23)พระเจ้าปราสาททองพระเจ้าปราสาททองเป็นกษัตริย์องค์ที่2ของอาณาจักรอยุธยาและทรงเป็นผู้สถาปนาราชวงศ์ปราสาททองอันเป็นราชวงศ์ที่4(ในจำนวน5ราชวงศ์)ของอยุธยาพระเจ้าปราสาททองประสูติปี2143และอาจจะมีสายพันธ์ในการทรงเป็นลูกพี่ลูกน้องกับพระเจ้าทรงธรรมรับราชการเป็นหมาดเล็กของพระเอกาทศรถและเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นในกรมวังตอนอายุ17ปีเมื่อพระเจ้าทรงธรรมสวรรคต2171ก็เกิดปัญหาการสืบราชสมบัติอันเป็นปัญหาที่แก้ไม่ตกของอยุธยาขุนนางในราชสำนักแยกเป็น2ฝ่ายฝ่ายหนึ่งคือเจ้าพระยามหาเสนาสนับสนุนพระศรีศิลป์ซึ่งเป็นอนุชาของพระเจ้าทรงธรรมแต่อีกฝ่ายหนึ่งคือเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์(ปราสาททอง)สนับสนุนพระเชษฐาธิราชซึ่งเป็นโอรสฝ่ายพระเจ้าทรงธรรมฝ่ายพระเชษฐาธิราชได้ชัยชนะขึ้นครองราชสมบัติดังนั้นเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์(ปราสาททอง)จึงได้รับตำแหน่งกลาโหมมีไพร่พลในบังคับและมีอำนาจมากพระเชษฐาธิราชครองราชสมบัติได้1ปี7เดือนเกิดความขัดแย้งกับเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์พระเจ้าแผ่นดินถูกจับสำเร็จโทษและตั้งพระอนุชาคือพระอาทิตยวงศ์ขึ้นเป็นกษัตริย์ได้เพียง1เดือนเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ก็ยึดอำนาจสถาปนาตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์เมื่อพระชนม์พรรษา30พระองค์ครองราชย์27ปีพระเจ้าปราสาททองพยายามแก้ปัญหาการปกครองคือพยายามที่จะไม่ให้เจ้าหรือขุนนางคนใดคนหนึ่งมีอำนาจในการคุมไพร่พลมากจนมีอำนาจมากขึ้นได้ในสมัยพระนเรศวรและพระเอกาทศรถได้ทรงแก้ปัญหานี้แล้วด้วยการตัดกำลังและอำนาจของเจ้าเมืองบางเมืองยกเลิกตระกูลเจ้าหัวเมืองที่จะสืบต่ออำนาจกันใช้การแต่งตั้งจากส่วนการออกไปพระเจ้าปราสาททองได้ดำเนินการให้แบ่งแยกอำนาจกันระหว่าง2เสนาบดีผู้ใหญ่คือกลาโหมและมหาดไทยแบ่งหัวเมืองทางเหนือให้อยู่ในบังคับบัญชาของหมาดไทยให้หัวเมืองทางใต้อยู่ในบังคับบัญชาของกลาโหมนอกเหนือจากปัญหาภายในแล้วยังมีปัญหากับชาวต่างชาติคือญี่ปุ่นและฮอลันดาในสมัยของพระเจ้าปราสาททองเป็นสมัยที่ศิลปะเกี่ยวกับศาสนาเฟื่องฟูมากมีการรื้อฟื้นอิทธิพลของสถาปัตยกรรมเขมรเช่นการสร้างปรางค์ที่วัดไชยวัฒนารามและที่อำเภอนครหลวงแต่ในขณะเดียวกันก็มีการพัฒนาศิลปะของพระพุทธรูป(ทรงเครื่องกษัตริย์)และปรางค์(ยอดสูง)แบบไทยอันถือเป็นแบบฉบับที่สำคัญของปลายอยุธยาพระเจ้าปราสาททองทรงเน้นพระราชพิธีเสด็จไปบูชารอยพระพุทธบาทที่สระบุรีอันเริ่มมาแต่สมัยพระเจ้าทรงธรรมจนกลายเป็นประเพณีที่สำคัญของอยุธยาตอนปลายเจ้าฟ้าไชย(กษัตริย์องค์ที่25)ขึ้นครองราชย์ได้2วันพระศรีสุธรรมราชาเป็นกษัตริย์องค์ที่27แห่งราชวงศ์สุโขทัยเป็นพระอนุชาของพระเจ้าปราสาททอง(กษัตริย์องค์ที่25)ขึ้นครองราชย์ได้2เดือน18วันพระนารายณ์พระนารายณ์ทรงเป็นกษัตริย์องค์ที่28แห่งอยุธยาพระองค์ทรงได้รับยกย่องให้เป็นมหาราชองค์หนึ่งทั้งนี้เพราะถือว่ารัชสมัยของพระองค์เจริญรุ่งเรืองในทางวรรณคดีและการต่างประเทศแต่ก็เป็นสมัยที่มีปัญหายุ่งยากทางการเมืองภายในอย่างสูงและเข้าไปเกี่ยวข้องกับการเมืองระหว่างประเทศในลักษณะที่ล่อแหลมจนเกือบทำให้สยามตกอยู่ใต้อิทธิพลของฝรั่งเศสสมัยของพระองค์เป็นสมัยที่มีข้อมูลทางประวัติศาสตร์มากที่สุดของอยุธยาเพราะได้หลักฐานจากชาวตะวันตกที่เข้ามาในราชสำนักพระนารายณ์เป็นโอรสของพระเจ้าปราสาททองกษัตริย์องค์ที่25ทรงประสูติเมื่อ2175/1632และเมื่อพระราชบิดาสวรรคต2199พระเชษฐาของพระองค์คือเจ้าฟ้าไชยก็ได้ขึ้นครองราชสมบัติเพียงวันพระนารายณ์ทรงร่วมสมคบกับพระศรีสุธรรมราชาซึ่งเป็นพระเจ้าอาชิงราชสมบัติโดยขอให้ชาวต่างชาติในอยุธยาเช่นฮอลันดาญี่ปุ่นมุสลิม(เปอร์เซียและปัตตานี)ช่วยให้พระศรีสุธรรมราชาครองราชสมบัติแทนแต่พระศรีสุธรรมราชาก็อยู่ในสมบัติได้เพียง10สัปดาห์พระนารายณ์ก็ชิงราชสมบัติอีกครั้งในสมัยของพระนารายณ์ทรงพยายามที่จะสถาปนาอำนาจของอยุธยาเหนือล้านนา(เชียงใหม่)และพม่าตอนล่างซึ่งเป็นเขตอิทธิพลที่ช่วงชิงกันระหว่างอยุธยาและพม่านับตั้งแต่กลางพุทธศตวรรษที่(2204)และเมืองของพม่าเช่นเมาะตะมะร่างกุ้งพะโค(2205)ในสมัยของพระองค์อยุธยาสามารถครอบครองเมืองต่างๆในพม่าตอนล่างสุดไว้ได้เช่นมะริดและตะนาวศรีและใช้หัวเมืองเหล่านี้เป็นเมืองท่าติดต่อค้าขายกับอินเดียตลอดจนชาวตะวันตกที่เริ่มเข้ามาเป็นจำนวนมากในแถบนั้นโดยเฉพาะอังกฤษและฝรั่งเศสบรรดาชาติตะวันตกที่มีความสำคัญในระยะนี้คือฮอลันดาอังกฤษฝรั่งเศสโดยบทบาทของโปรตุเกสได้เริ่มลดลงบรรดาพ่อค้าเหล่านี้พยายามอย่างยิ่งที่จะเข้ามามีผลประโยชน์ในการค้าของเอเชีย ซึ่งเดิมอยู่ในมือของจีนทางด้านตะวันออกและชาวมุสลิมชาวตะวันตกตั้งสถานีการค้าของตนเพื่อตัดการค้าผูกขาดของราชสำนักไทยที่มีกับต่างประเทศแม้ว่าศตวรรษที่22จะมีชาวตะวันตกเป็นจำนวนมากแต่ก็ต้องเผชิญกับการแข่งขันจากจีนและมุสลิมทำให้ชาวตะวันตกไม่ได้รับผลกำไรเท่าที่ต้องการเป็นผลให้การค้าอยู่ในลักษณะที่ปิดๆเปิดๆอยู่ตลอดเวลาในสมัยของพระนารายณ์ทรงสร้างเมืองลพบุรีขึ้นเป็นราชธานีแห่งที่2(2208)และในแต่ละปีทรงพำนักอยู่ที่เมืองนี้มากกว่าอยุธยากล่าวกันว่าการสร้างราชธานีแห่งที่2นี้ก็เพื่อใช้เป็นป้อมปราการในการที่จะต้องเผชิญต่อการปิดล้อมหรือการคุกคามจากชาติตะวันตก(ฮอลันดา)แต่ในการตีความประวัติศาสตร์แบบใหม่เหตุผลของปัญหาความยุ่งยากทางการเมืองภายในราชสำนักก็อาจเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งจากสมัยของพระองค์ถือกันว่าเป็นสมัยที่มีความเจริญรุ่งเรืองทางด้านศิลปวิทยาการมีการแต่งวรรณกรรมเก่าๆเช่นจินดามณี(2215)ราโชวาทชาดก(2218)พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับหลวงประเสริฐ(2223)เป็นต้นงานเหล่านี้ถือเป็นพื้นฐานของประวัติศาสตร์และวรรณคดีของไทยในปัจจุบันเรื่องที่ถือว่าเด่นที่สุดของสมัยพระนารายณ์คือการติดต่อสัมพันธ์กับราชสำนักฝรั่งเศสของพระเจ้าหลุยส์ที่14และเป็นเรื่องที่ล่อแหลมต่อการสูญเสียเอกราชของอยุธยาเป็นอย่างมากในระหว่าง22232231มีบทบาทของชาวต่างชาติ(กรีก)ที่มีนามว่าคอนแสตนตินฟอลคอนพ่อค้าผู้นี้ได้เข้ามากับเรือสินค้าของอังกฤษด้วยความสามารถทางการค้าและภาษาทำให้ก้าวขึ้นมารับราชการกับกรมพระคลังและมีส่วนในเรื่องการส่งทูตไทยไปยังเปอร์เซียทำให้ได้รับการโปรดปรานเข้าทำงานใกล้ชิดกับพระนารายณ์จนเลื่อนเป็นเจ้าพระยาวิไชเยนทร์รักษาการในตำแหน่งพระคลังและในที่สุดก็ควบคุมกรมมหาดไทยกลายเป็นเสนาบดีชั้นผู้ใหญ่ฟอลคอนสนใจระบบการค้าในเอเชียและต้องการจะหาผลประโยชน์ให้กับตนพร้อมๆกับการทำงานให้ราชสำนักไทยผลประโยชน์ของเขาขัดกับของอังกฤษฮอลันดาและบรรดาชาวมุสลิมที่มีอิทธิพลอยู่ในปี2222พระนารายณ์ทรงส่งทูตไปฝรั่งเศสแต่ทูตชุดนี้เรือแตกสูญหายไปนอกฝั่งดังนั้นเขาจึงหันไปร่วมมือกับบาทหลวงชาวฝรั่งเศสที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนาอยู่ในอยุธยาในแง่ของพระนารายณ์พระองค์สนใจที่จะมีฐานะในทางการระหว่างประเทศโดยส่งทูตไปเปอร์เซียอินเดียจีนพระองค์จึงเล็งเห็นความสำคัญและความสามารถของฟอลคอน ในขณะเดียวกันมิชชั่นนารีเยซูอิตก็ได้เข้ามาในอยุธยาตั้งแต่ 2205มีส่วนช่วยในด้านวิศวกรของการสร้างวังและป้อมปราการให้กับพระนารายณ์ได้รับอนุญาตพิเศษให้ตั้งสำนักเซมินารีที่จะสั่งสอนศาสนาและพระนารายณ์ก็ส่งสารไปเจริญสัมพันธไมตรีกับพระเจ้าหลุยส์ที่14และสันตปาปาที่กรุงโรมโดยผ่านบาทหลวงเหล่านี้ เป็นผลทำให้เกิดความเข้าใจกันว่าพระองค์สนพระทัยในคริสต์ศาสนา และอาจจะเปลี่ยนไปเข้ารีตได้แอฟริกา ต่อมาในปี 2225 ฝรั่งเศสได้ส่งทูตชุดเล็กเข้ามาทำการเจรจาสร้างพันธมิตรระหว่างประเทศ ซึ่งในปี 2227 ทูตชุดที่ 2 ของไทยก็ไปเจรจาเรื่องนี้ต่อ ผลก็คือในปี 2228-2229 ฝรั่งเศสได้ส่งทูตชุดใหญ่และสำคัญอันนำโดย เชอวาลิเอ เดอ โชมองต์ เข้ามาในอยุธยาด้วยจุดประสงค์ที่จะให้พระนารายณ์เปลี่ยนศาสนา ให้ฝรั่งเศสมีอิทธิพลในการสอนศาสนา ให้มีสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ให้ผูกขาดการค้าดีบุกที่ภูเก็ต ให้ได้รับประโยชน์ทางการค้าเท่าเทียมฮอลันดา และให้ตั้งทหารของตนได้ที่เมืองสงขลาทูตชุดนี้ของฝรั่งเศสกลับออกไปในปี 2229 พร้อมกับนำทูตชุดที่ 3 ของไทยที่นำโดย โกษาปาน ไปด้วย เพื่อเจรจาสัญญาต่างๆในรายละเอียดอีกครั้ง โกษาปานไปต่างประเทศในระหว่าง 2229-2230 ขณะเดียวกันสถานการณ์ในสยามก็เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ในปี 2229 เกิดขบถมักกะสัน ซึ่งเป็นพ่อค้ามุสลิมจากเกาะซูลาเวสี (อินโดนีเซีย) ที่ทรงอิทธิพลและมีผลประโยชน์ขัดกับฮอลันดา พวกมักกะสันนี้ต้องการสนับสนุนให้อนุชาของพระนารายณ์ขึ้นครองราชย์แทน และต้องการให้เปลี่ยนเป็นนับถือศาสนาอิสลามด้วย แต่ก็ถูกฟอลคอนปราบปรามอย่างราบคาบในขณะเดียวกันก็เกิดวิกฤตการณ์ขึ้นในเมืองมะริด ซึ่งเป็นเมืองท่าด้านตะวันตกของอยุธยามีการสังหารชาวอังกฤษ 60 คนที่ขัดขวางผลประโยชน์ทางการค้าของพระนารายณ์และฟอลคอน เป็นเหตุให้อยุธยาอยู่ในสภาพสงครามกับบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ เรืออังกฤษปิดล้อมมะริด และอังกฤษก็เรียกร้องค่าเสียหายเป็นเงินจำนวนมาก (65,000 ปอนด์ ) ทำให้เกิดความยุ่งยากในราชสำนักและเป็นผลให้พระนารายณ์คิดยกเมืองมะริดให้ฝรั่งเศสในที่สุดในเดือนกันยายน2230ฝรั่งเศสได้ส่งทูตมาอีกชุดหนึ่งนำโดยโคลดเซเบเรต์และซิมองเดอลาลูแบร์พร้อมด้วยเรือรบ 6 ลำ ทหาร 500 คน และบาทหลวงเยซูอิต จุดประสงค์คือเรื่องเปลี่ยนศาสนาของพระนารายณ์ และการเจรจาเอาเมืองบางกอก (แทนเมืองสงขลา) นอกเหนือจากเมืองมะริด อันจะทำให้ฝรั่งเศสยึดเมืองที่คุมอาณาจักรอยุธยาได้ทั้งหมด มีการลงนามในสนธิสัญญาใหม่นี้เมื่อ 11 ธันวาคม 2230 ซึ่งฝรั่งเศสได้เมืองบางกอกไป แต่ไม่ได้การเปลี่ยนศาสนาของพระนารายณ์ผลของการดำเนินนโยบายต่างประเทศที่ล่อแหลมนี้ทำให้เกิดความรู้สึกต่อต้านต่างชาติฝรั่งขึ้นในบรรดาขุนนางไทยและพระสงฆ์ ขุนนางไทยไม่พอใจที่ฟอลคอนมีอิทธิพลมากมายในราชสำนักและมีอิทธิพลต่อองค์พระนารายณ์เอง ทั้งยังได้รับผลประโยชน์จากการค้าอีกด้วย ในขณะเดียวกันชาวต่างชาติอื่นๆก็ไม่พอใจต่อสิทธิพิเศษของฝรั่งเศสและฟอลคอน ในด้านพระสงฆ์เกิดการหวั่นวิตกว่า พระนารายณ์จะหันไปนับถือคริสต์ศาสนา ดังนั้นเมื่อพระนารายณ์ทรงประชวรเมื่อมีนาคม 2231 พระเพทราชา เจ้ากรมช้าง ก็กลายเป็นศูนย์กลางของความรู้สึก “ ชาตินิยม “พระเพทราชาได้รับแต่งตั้งให้รักษาราชการ พระนารายณ์ยังมิทันมอบราชสมบัติให้ผู้ใด พระเพทราชาก็ยึดอำนาจ จับฟอลคอนประหารชีวิตเมื่อ 5 มิถุนายน พระปีย์ (โอรสบุญธรรมของพระนารายณ์) ถูกลอบสังหาร เมื่อพระนารายณ์สวรรคต 11 กรกฎาคม 2231 พระเพทราชาก็ขึ้นครองราชสมบัติ และพระอนุชาของพระนารายณ์ก็ถูกสำเร็จโทษ เป็นอันสิ้นราชวงศ์ปราสาททอง และเริ่มต้นราชวงศ์บ้านพลูหลวง อันเป็นราชวงศ์สุดท้ายของอยุธยา พระเพทราชาเจรจาให้กองทหารฝรั่งเศสถอยออกไปจากเมืองบางกอกเมื่อ 18 ตุลาคม 2231 เป็นอันสิ้นสุดการติดต่อสัมพันธ์ทางการต่างประเทศของอยุธยาในลักษณะล่อแหลม กลับไปใช้การติดต่อค้าขายในลักษณะปกติตามที่เคยเป็นมาแต่ครั้งโบราณกาล


 

          พระเพทราชา

               ทรงเป็นกษัตริย์องค์ที่ 29 ของอยุธยา และทรงเป็นผู้สถาปนาราชวงศ์บ้านพลูหลวง อันเป็นราชวงศ์ที่ 5 และราชวงศ์สุดท้ายของอยุธยาในประวัติศาสตร์ไทย พระเพทราชาถูกมองว่าเป็นกบฏ แต่ในขณะเดียวกันพระองค์ก็ถูกมองว่าเป็น “นักชาตินิยม” ที่สกัดกั้นมิให้ไทยต้องตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของต่างชาติ (ฝรั่งเศส)พระเพทราชาทรงมีพื้นเพมาจากบ้านพลูหลวงใน จ.สุพรรณบุรี พระมารดาทรงเป็นแม่นมของพระนารายณ์ ดังนั้นพระองค์จึงได้รับการเลี้ยงดูควบคู่กันมากับพระนารายณ์ ทำให้มีโอกาสเข้ารับราชการ โดยเฉพาะได้เป็นเจ้ากรมช้างซึ่งเป็นกรมที่มีอำนาจในทางการทหารอย่างสูง ในช่วงปลายรัชสมัยพระนารายณ์ เมื่ออิทธิพลของต่างชาติคือ ฝรั่งเศสมีมากขึ้น พระเพทราชากลายเป็นศูนย์กลางของความรู้สึกต่อต้านฝรั่งเศสและคริสต์ศาสนาพระเพทราชามีพระโอรส 1 องค์คือ หลวงสรศักดิ์ (พระเจ้าเสือ) ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นโอรสลับของพระนารายณ์ ที่เกิดจากเจ้าหญิง(ลาว) เมืองเชียงใหม่ หลวงสรศักดิ์มีส่วนผลักดันให้พระเพทราชาขึ้นมายึดอำนาจจากพระนารายณ์ เมื่อพระนารายณ์เริ่มประชวรในเดือนมีนาคม 2230 ก็มีปัญหาการสืบราชสมบัติว่าจะตกกับผู้ใด ผู้ที่อยู่ในข่ายคือ พระอนุชา 2 องค์ เจ้าฟ้าอภัยทศ และ เจ้าฟ้าน้อย กับ โอรสบุญธรรมคือ พระปีย์ (พระนารายณ์ไม่มีโอรส) บุคคลทั้ง 3 ถูกหลวงสรศักดิ์กำจัด เมื่อพระนารายณ์สวรรคตไทยก็ขับไล่ฝรั่งเศสออกนอกอาณาเขตตลอดรัชสมัย 15 ปี ของพระเพทราชามีปัญหาเรื่องความสงบ จากการที่พระองค์ถูกมองว่าเป็นผู้แย่งราชสมบัติ ก็ทำให้มีการกบฏต่อพระองค์ เช่นหัวเมืองบางเมืองก็ไม่ยอมรับอำนาจของพระเพทราชาคือเมืองนครราชสีมาและเมืองนครศรีธรรมราช ทั้ง 2 เมืองมีเจ้าเมืองที่ได้รับการสถาปนาโดยพระนารายณ์ ทำให้ไม่ยอมรับอำนาจของพระเพทราชาและต้องส่งกองทัพไปปราบในปี 2234ใช้เวลาถึง 2 ปี และเป็นสงครามภายในที่ใหญ่ที่สุดนับได้ว่า พระเพทราชาเป็นกษัตริย์ที่มีปัญหาเสถียรภาพการเมืองภายในสูงมากนอกจากหลวงสรศักดิ์แล้ว พระเพทราชายังมีโอรสอีก 2 องค์ที่มีสิทธิสืบราชสมบัติคือ เจ้าพระขวัญ และ ตรัสน้อย เมื่อพระเพทราชาประชวร ปัญหาการสืบราชสมบัติก็เกิดขึ้น หลวงสรศักดิ์ลอบประหารเจ้าพระขวัญ (ตรัสน้อยหนีไปบวชพระ) พระเพทราชาจึงตั้งพระนัดดา เจ้าพระพิไชยสุรินทร์ให้สืบราชสมบัติ แต่เมื่อพระองค์สวรรคต2246 หลวงสรศักดิ์ก็ได้สืบราชสมบัติเป็นพระเจ้าเสือพระเจ้าเสือพระเจ้าเสือทรงเป็นกษัตริย์องค์ที่ 30 พระองค์มีชื่อเสียงในฐานะกษัตริย์ของอยุธยาที่“ดุร้าย” และมักมากในกามคุณ แต่ก็เป็นกษัตริย์ที่ทรงมีความเป็นสามัญชนมากที่สุดของอยุธยา ทรงโปรดปรานการเสด็จออกประพาสโดยมิให้ราษฎรรู้ว่าเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ทรงโปรดการประพาสตกปลา ชกมวย เป็นต้นพระเจ้าเสือประสูติเมื่อ2207 ที่ จ.พิจิตร ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นโอรสลับของพระนารายณ์ ที่เกิดจากเจ้าหญิง(ลาว) เมืองเชียงใหม่แต่เนื่องจากพระนารายณ์ทรงอับอายที่มีโอรสกับเจ้าหญิงที่เป็นลาว ดังนั้นจึงยกพระเจ้าเสือ ซึ่งมีนามเดิมว่า เดื่อ ให้เป็นบุตรบุญธรรมของพระเพทราชาเจ้ากรมช้าง ในสมัยที่ทรงพระเยาว์ พระเจ้าเสือมีนามปรากฏในความสามารถในการบังคับบัญชาช้าง ซึ่งถือว่าเป็นวิชาที่สำคัญต่อความเป็นทหารและเป็นผู้นำ ดังนั้นจึงรับราชการเป็นหลวงสรศักดิ์ ในกรมช้างพระเจ้าเสืออยู่ในราชสมบัติในระยะเวลา 6 ปี และเป็นรัชสมัยที่ค่อนข้างจะไม่มีปัญหาทั้งการเมืองภายในและภายนอกนักไม่เหมือน 2 พระองค์ที่ผ่านมา ในสมัยพระเจ้าเสือมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับการเสด็จประพาสทางเรือและลัทธิของความจงรักภักดีต่อกษัตริย์และกฎเกณฑ์ของบ้านเมืองกล่าวกันว่าครั้งหนึ่งเสด็จจากอยุธยาตามลำน้ำเจ้าพระยาเข้าคลองโคกขาม จะไปเมืองสมุทรสาคร2247 นายท้ายเรือพระที่นั่งชื่อ “พันท้ายนรสิงห์” คัดท้ายเรือไม่ดี หัวเรือชนต้นไม้หัก ซึ่งตามกฎแล้วจะต้องถูกประหารชีวิต ด้วยการตัดคอ พระเจ้าเสือทรงมีเมตตาต่อพันท้ายนรสิงห์ จะไม่เอาโทษ พันท้ายนรสิงห์ก็ยอมตายขอให้ประหารชีวิต เพื่อรักษากฎหมายนอกจากนี้ยังมีการขุดคลองมหาชาติ เชื่อระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยากับ แม่น้ำท่าจีนซึ่งเป็นผลงานที่สำคัญในด้านการเชื่อมแม่น้ำสายสำคัญในภาคกลาง ทำให้การคมนาคมสะดวกติดต่อกันได้ การขุดคลองนี้ไม่ถือว่าเป็นเรื่องของการชลประทาน แต่ก็มีผลพลอยได้ในการเปิดที่ดินใหม่เพื่อการเกษตรกรรมอย่างมหาศาล การขุดคลองนี้เป็นราชกิจที่มีมาตั้งแต่ต้นอยุธยา มีทั้งการขุดคลองลัดเพื่อให้เส้นทางสั้นลงพระเจ้าเสือสวรรคตในปี 2252 เมื่อพระชนม์พรรษาได้ 45และ พระโอรสก็ขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระเจ้าท้ายสระ โดยไม่มีปัญหาการแย่งราชสมบัติ

        

                พระเจ้าท้ายสระ

             ทรงเป็นกษัตริย์องค์ที่ 31 ทรงเป็นโอรสของพระเจ้าเสือ เมื่อขึ้นครองราชย์ก็ตั้งพระอนุชา(พระเจ้าบรมโกศ) เป็นอุปราชหรือวังหน้า รัชสมัยของพระองค์ยาวนาน 24 ปี ทำให้คนรุ่นต้นรัตนโกสินทร์ มองว่าเป็นสมัยที่ บ้านเมืองดี แต่สมัยนี้ก็มีปัญหาการยุ่งยากกับ กัมพูชาในสมัยนี้ปรากฏว่าการค้าข้าวของไทยรุ่งเรืองมาก ที่สำคัญคือการขายให้กับจีน มีหลักฐานว่าจีนซื้อข้าวจำนวนมากกับไทย ในปี 2265 ,2278 ,2294 ถึงกับจักรพรรดิจีนพระราชทานเหรียญตราให้กับผู้ที่สามารถนำข้าวจากไทยไปขายในเมืองจีน ดังนั้นเป็นผลให้เมืองท่าของจีนทางใต้ โดยเฉพาะที่กวางตุ้งเปิดให้กับไทย และจีนก็ยิ่งมีอิทธิพลการค้าในไทยเพิ่มขึ้นพระเจ้าบรมโกศพระเจ้าบรมโกศ เป็นพระเจ้าแผ่นดินองค์ที่ 32 เป็นพระโอรสของพระเจ้าเสือ และพระอนุชาของพระเจ้าท้ายสระ เป็นกษัตริย์ในสมัยบ้านเมืองดี ก่อนการเสียกรุงให้แก่พม่าเมื่อ2310 คือ 9 ปีภายหลังที่พระองค์สวรรคต และพระโอรส 2 องค์เกิดแย่งชิงกันไม่สามารถต้านทานศึกพม่าได้ สมัยพระเจ้าบรมโกศเป็นยุคที่รัตนโกสินทร์ตอนต้นมองกลับไปหา และพยายามจะลอกเลียนแบบประเพณีของราชสำนักในรัชกาลอันยาวนานของพระเจ้าบรมโกศ 25 ปี ทรงได้ปรับปรุงการปกครองโดยการขยายการตั้ง เจ้าทรงกรม จาก 3 กรมเป็น 13 กรม เป็นการพยายามแก้ปัญหาการคุมอำนาจมากจนชิงราชสมบัติ แต่การขยายกรมที่คุมไพร ทำให้การบังคับบัญชากำลังพลกระจัดกระจายทำให้ไม่สามารถเผชิญกับศึกภายนอกเมื่อพม่ายกทัพมาตีอยุธยาในด้านศาสนา พุทธศาสนารุ่งเรืองมากมีการส่งทูตไปศรีลังกา 2 ครั้ง ทำให้เกิดการอุปสมบทขึ้นใหม่ และมีการตั้งพุทธศาสนานิกายสยามวงศ์ขึ้นในด้านความสำคัญกับเพื่อนบ้านมีความสัมพันธ์อันดีกับหงสาวดีและ พม่าในปี 2300พระเจ้าบรมโกศทรงประชวร และในปีนี้มีดาวหางขึ้น ซึ่งปรากฏว่าเป้นดาวหางฮัลเลย์ เมื่อพระองค์สวรรคตก็เกิดการแย่งอำนาจสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร ( ขุนหลวงหาวัด )สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร (ขุนหลวงหาวัด) เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (สมเด็จพระบรมราชาที่ 3 ) กับพระอัครมเหสีน้อยหรือกรมหลวงพิพิธมนตรี มีพระเชษฐา 1 พระองค์ พระกนิษฐาและพระขนิษฐา 6 พระองค์ ต่อไปนี้

                                1. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าเอกทัศ (เจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรี)

                                2.เจ้าฟ้าประภาวดี

                                3.เจ้าฟ้าประชาวดี

                                4.เจ้าฟ้าพินทวดี

                                5.เจ้าฟ้าจันทวดี

                                6. เจ้าฟ้ากระษัตรี

                                7.เจ้าฟ้ากุสุมาวดี

สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร (ขุนหลวงหาวัด) พระนามเดิมว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิต ดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ก่อนที่พระองค์จะทำการพิธีราชาภิเษกขึ้นครองราชย์ ได้มีพระเชษฐาและพระอนุชาต่างพระมารดา 3 พระองค์ ที่จะทำการกบฏแย่งชิงราชสมบัติหลังจากสมเด็จพระราชบิดาสวรรคต ได้แก่ กรมหมื่นจิตรสุนทร กรมหมื่นสุนทรเทพ กรมหมื่นเสพภักดี แต่พระองค์ได้ให้พระราชาคณะ 5 รูป ได้เกลี้ยกล่อมจนสำเร็จ อีก 8 วันต่อมา เจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษมนตรี สมเด็จพระเชษฐาธิราช ก็กราบบังคมทูลสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร (ขุนหลวงหาวัด) ให้จับพระอนุชาต่างมารดาทั้งสามสำเร็จโทษเสียเพื่ออย่าให้มีเสี้ยนหนามในแผ่นดินต่อไปอีก 7 วันต่อมา สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรก็กระทำพระราชพิธีราชาภิเษกขึ้นครองราชสมยัติเป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 34 แห่งกรุงศรีอยุธยา ทรงพระนามว่า สมเด็จพระบรามราชาที่ 4 แต่ประชาชนพากันเรียกว่า สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรเมื่อระหว่างที่สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรเสด็จขึ้นครองราชย์มาได้เพียง 10 วัน สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรทรงเห็นว่า สมเด็จพระเชษฐาธิราช เจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษมนตรี เสด็จประทับอยู่ที่พระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ตลอดเวลา ไม่ยอมไปที่ไหน พระองค์ทรงเห็นว่า สมเด็จพระเชษฐาธิราชมีความใฝ่ฝันที่จะได้ครองราชสมบัติ สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรจะจัดการประการใดก็มิได้เพราะเกรงสมเด็จพระราชชนนี พอทรงครองราชย์สมบัติมอบให้แก่สมเด็จพระเชษฐาธิราช หลังจากนั้นก็ทูลลาออกผนวชที่วัดเดิม แล้วเสด็จไปจำพรรษาที่วัดประดู ครั้งนั้นขุนนางข้าราชการที่มีความสามารถในหน้าที่การงาน พากันลาราชการออกบวชตามพระองค์เป็นจำนวนมากสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร ( ขุนหลวงหาวัด ) หรือสมเด็จพระบรมราชาที่ 4 ทรงครองราชสมบัติตั้งแต่ปี พ.ศ. 2301 และทำการสละราชสมบัติในปีเดียวกันให้กับสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ ซึ่งเป็นสมเด็จพระเชษฐาธิราช สิริครองราชย์ได้ 2 เดือนสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ ( พระเจ้าเอกทัศน์ )สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ กับพระอัครมเหสีน้อย หรือกรมหลวงพิพิธมนตรีมีพระอนุชา 1 พระองค์ และพระขนิษฐา 6 พระองค์ในปี 2310 ตรงกับเดือนพฤศจิกายน สมเด็จพระพันปีหลวง กรมพระเทพอามาตย์ทรงพระประชวนจนทิวงคต สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ ก็ถวายพระศพอย่างสมพระเกียรติตามโบราณราชประเพณีขณะนั้นเจ้ากรมมหาดเล็กคนใหม่ พระยาราชมนตรีบริรักษ์ และจมื่นศรีสรรักษ์น้องชายซึ่งถือตัวว่าเป็นน้องชายพระสนมเอก และสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้เข้าออกในวังหลวงได้ตลอดเวลา ได้แสดงกิริยาโอหัง ไม่ยอมเคารพข้าราชการชั้นผู้ใหญ่และเสนาบดีทั้งปวงเจ้าพระยาอภัยราชา ได้หารือกับข้าราชการที่รองลงมาว่าคนสองคนนี้จะยุแหย่ให้บ้านเมืองเกิดการจลาจลวุ่นวาย และมีความเห็นว่าพระเจ้าบรมโกศก็ไม่ต้องการที่จะให้ราชสมบัติแก่พระเจ้าแผ่นดินองค์นี้ต้องการยกให้กรมหมื่นพรพินิต และทรงทำนายไว้ว่า บ้านเมืองจะพินาศฉิบหายเพราะความโง่เขลาเบาปัญญาของสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์จึงเห้นว่าสมควรทูลเชิญให้กรมหมื่นพรพินิตลาผนวชกลับมาครองราชย์ดังเดิม แต่กรมหมื่นพรพินิตนำความไปทูลสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์จึงได้วางกำลังล้อมจับคณะปฏิวัติได้ทั้งหมด ลงอาญาให้เฆี่ยนตีบรรดาคณะปฏิวัติชั้นหัวหน้าทุกคนและนำจำขังไว้ ส่วนกรมหมื่นเทพพิพิธนั้นให้ศึกเสียจากพระ พอดีมีเรือที่กลับมาจากส่งสมณฑูตไทยจากลังกา สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพระราชาคณะอีก 2 รูป คือ พระวิสุทธาจารย์ และพระวรญาณมุนีกับพระภิกษุอีก 3 รูป ไปผลัดเปลี่ยนพระที่ลังกาด้วย เป็นการลงโทษสถานเนรเทศให้พ้นออกไปจากกรุงศรีอยุธยา



                                 

                                 .

สงครามพม่าครั้งที่ 2

                  หลังจากพม่าเกิดความวุ่นวายภายในและทำการจัดระเบียบราชการแผ่นดินของพม่าใหม่ โดยมีมังลอกพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระเจ้าอลองพญาได้ราชสมบัติ และต้องทำการสงครามปราบปรามหัวเมืองต่าง ๆ ที่ตั้งแข็งเมืองกระด้างกระเดื่องอยู่เกือบปี ก็พอดีทรงพระประชวร และสวรรคตในเวลาต่อมา มังระพระราชโอรสองค์ที่ 2 ในพระเจ้าอลองพญา ได้เสวยราชสมบัติสืบต่อ มีนิสัยชอบการสงครามเหมือนพระราชบิดา จึงให้ มังมหานรธาเป็นแม่ทัพใหญ่ ยกทัพพม่าเข้ามาทางทวาย ตีหัวเมืองล้อมกรุงศรีอยุธยา และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เนเมียวสีหบดีเป็นแม่ทัพใหญ่ ยกทัพเข้าโจมตีไทยฝ่ายเหนือ เริ่มตั้งแต่เชียงใหม่ เวียงจันทร์ แล้วรุดหน้ามาทางใต้เข้าล้อมอยุธยา เป็นทัพกระหนาบเหตุการณ์ตอนปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงวิจารณ์ไว้ในจดหมายเหตุกรมหลวงนรินทรเทวีเกี่ยวกับการเสียกรุงในครั้งนั้นว่า"เครื่องศัสตราวุธเห็นจะขัดสนมาก อย่างไขว้เขวกัน มีปืนไม่มีลูก มีลูกไม่มีปืน อาวุธที่จ่ายออกมาก็ชำรุดทรุดโทรม ปืนเอาไปยิงก็จะเกิดอันตรายเนือง ๆ แตกบ้าง ตกรางบ้าง ยิงไม่ออกบ้าง เข็ดหยาดเห็นการยิงปืนยากเสียเต็มที คราวนี้ก็เลยกลัวไม่ใคร่จะมีใครกล้ายิงเองอยู่แล้ว ซ้ำเจ้านายและผู้ดีก็พากันสวิงสวายกลัวอะไรต่ออะไร ตั้งแต่ฟ้าร้องเป็นต้นไป เป็นปกติของผู้ดีชั้นนั้น"ส่วนพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ได้กล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้เช่นเดียวกัน ซึ่งปรากฏอยู่ในจดหมายหลวงอุดมสมบัติ ฉบับที่ 1 เป็นใจความว่า"ครั้งพม่ายกมาตั้งค่ายอยู่ในวัดแม่นางปลื้มนั้น จะหาคนรู้ยิงปืนเป็นสู้รบกับพม่าก็ไม่มี ศูนย์ทะแกล้วทหารเสียหมด (พระเจ้าเอกทัศ) รับสั่งให้เอาปืนปะขาวกวาดวัดขึ้นไปยิงสู้รบกับที่หัวรอ ต่างคนต่างก็ตื่นตกใจเอาสำอุดหูกลัวเสียงปืน จะดังเอาหูแตก ว่ากล่าวกันให้ใส่ดินแต่น้อย ครั้นใส่แต่น้อยกำหนดจะยิงข้างน้ำข้างใน (หม่อนต่าง ๆ เข่น มีเรื่องเล่าถึงหม่อนเพ็ง หม่อนแมน) ก็พากันร้องวุ่นวาย เอาสำลีจุกหูไว้ กลัวหูจะแตก ก็รับสั่งให้ผ่อนดินให้น้อยลง จะยิงแล้วไม่ยิงเสีย แต่เวียนผ่อนลง ๆ ดินก็น้อยลงไปทุกที ครั้นเห็นว่าน้อยพอยิงได้แล้วก็ล่ามชนวนออกไปให้ไกลทีเดียว แต่ไกลอย่างนั้นคนยิงยังต้องเอาสำลีจุกหูไว้ กลัวหูจะแตก ครั้นยิงเข้าไปเสียงปืนก็ดังพรูดออกไป ลูกปืนก็ตกลงน้ำ หาถึงค่ายพม่าไม่ (สมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ) รับสั่งต่อไปว่า สั่งคนรู้วิชาทัพ ก็จะเป็นไปอย่างนี้นั่นเอง"สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ไม่สามารถทำการศึกสงครามได้ และไม่สามารถทั้งในการรวมคนป้องกันพระนคร ประชาชนจึงไปอันเชิญเสด็จสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร ให้ลาผนวชมาช่วยรักษาพระนครอีกครั้งหนึ่ง แต่สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรก็ไม่ยอม พม่าล้อมและระดมตีไทยอยู่ครั้นนั้นเป็นเวลานานถึง ๑ ปี ๒ เดือน ถึงวันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๓๑๐ เวลา ๒๐.๐๐ น. ก็เข้าเมืองได้ ได้เผาผลาญบ้านเมืองเสียยับเยิน กวาดเก็บทรัพย์สินและสมบัติและผู้คนเป็นเชลยเสียมากปราสาทราชมณเฑียรต่าง ๆ ก็ถูกไปเผาพินาศสิ้น ทองหุ้มองค์พระพุทธรูป พม่าเอาไฟเผาครอกเอาไปหมด เกี่ยวกับเรื่องนี้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กล่าวไว้ใน พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา ความตอนหนึ่งกล่าวว่า"ฝ่ายเนเมียวแม่ทัพค่ายโพธิ์สามต้น จึงให้พลพม่าเข้ามาจุดเพลิงเผาปราสาทที่เพนียดนั้นเสีย แล้วให้ตั้งค่ายลงที่เพนียด และวัดพระเจดีย์แดง วัดสามพิหาร วัดมณฑป วัดกระโจม วัดนางชี วัดนางปลื้ม วัดศรีโพธิ์… เผาเหย้าเรือนอาวาส และพระราชวังทั้งปราสาทราชมณเฑียร และเพลิงสว่างดังกลางวันแล้วเทียวไล่จับผู้คนค้นริบเอาทรัพย์เงินทองสิ่งของทั้งปวงต่างๆ แต่พระเจ้าแผ่นดินนั้นหนีออกจากเมืองลงเรือน้อยไปกับมหาดเล็กสองคน ไปซ่อนอยู่ในสุมทุมไม้ใกล้บ้านจิกขัน วัดสังฆาวาส มหาเล็กนั้นก็ทิ้งเสียหนีไปอื่น อดอาหารอยู่แต่เพียงพระองค์เดียวพม่าหาจับได้ยาก จับได้เพียงแต่พระราชวงศานุวงศ์ทั้งปวงไปไว้ทุกๆ ค่าย….แล้วพม่าก็เอาเพลิงสุมหลอมเอาทองคำซึ่งแผ่หุ้มองค์พระพุทธรูปผืนใหญ่ในพระวิหารหลวงวัดพระศรีสรรเพชรดารามนั้น ขนเอาเนื้อทองคำไปหมดสิ้นหลังจากนั้นพม่าค้นหาผู้คนและทรัพย์สมบัติอยู่ 10 วัน ได้ทรัพย์สมบัติไปเป็นอันมากแล้วยกกองทัพกลับ ตั้งให้สุกี้เป็นแม่ทัพกุมพล 3,000 คน อยู่ที่ค่ายโพธิ์สามต้น เพื่อค้นหาสมบัติและส่งผู้คนไปยังพม่าต่อไป ส่วนองค์พระเจ้าแผ่นดินนั้นหนีไปซุกซ่อนอยู่ อดอาหารมากกว่า 10 วัน สุกี้ไปพบและนำมายังค่ายโพธิ์สามต้นก็สวรรคต พร้อมกับสิ้นบุญกรุงศรีอยุธยาสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศน์) ทรงครองราชสมบัติตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๓๐๑ และสวรรคตในปีเดียวกับการเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ ๒ ซึ่งตรงกับปี พ.ศ. ๒๓๑๐ สืบเนื่องมาจากถูกพม่าเผากรุงศรีอยุธยาวอดวายและพระองค์อดอาหาร

          สาเหตุการเสียอยุธยาเเก่พม่า

       1. ความเสื่อมเรื้อรังในสถาบันการเมืองและทางสังคม สืบเนื่องมาจากแย่งชิงอำนาจกัน

         2. ความเสื่อมจากการมีผู้นำที่ไม่เข้มแข็งเด็ดขาด

         3. ไพร่พลขาดความพร้อมในการรบ เพราะเว้นจากการศึกสงครามมานาน

         4.พม่าเปลี่ยนยุทธวิธี และหันมาใช้วิธีตัดกำลังของหัวเมืองต่าง ๆ

         5. เกิดไส้ศึกภายใน